Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.
Your Pet, Our Passion.
วิธีเลี้ยงแมว วิธีเลี้ยงสุนัข

10 เคล็ดลับวิธีเลี้ยงสุนัขและแมวให้อยู่ร่วมกันกับเราได้อย่างมีความสุข

4 นาที

เมื่อเราต้องอยู่แต่ในบ้านสัตว์เลี้ยงมักกลายเป็นเพื่อนที่ช่วยสร้างความสุขและคลายความกังวลได้เป็นอย่างดี การที่เจ้าของได้เห็นหางที่แกว่งไปมาอย่างมีความสุขหรือได้ยินเสียงออดอ้อนให้อุ้มขณะกำลังไม่สบายใจนั้น ช่วยลดความเครียดได้ แต่สุนัขและแมวก็รู้สึกเบื่อได้เหมือนกันถ้าเขาต้องติดอยู่ในบ้านนาน ๆ บทความนี้ Purina ขอเสนอเคล็ดลับ 10 ข้อในการสร้างความสุขให้สุนัขและแมวที่เลี้ยงในบ้าน

เมื่อต้องอยู่ในบ้าน แมวหรือสุนัขที่อยู่รอบตัวเรานั้นเป็นเพื่อนช่วยคลายความเครียดให้เราได้เป็นอย่างดี

เมื่อเราอยากบ่นหรืออยากกอดใครสักคน

แต่การอยู่แต่ในบ้านกับสัตว์เลี้ยงก็อาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน Purina จึงรวบรวมเคล็ดลับที่จะทำให้คุณและสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขในสถานการณ์ที่ต้องติดอยู่ในบ้านช่วงนี้

1. รักษากิจวัตรประจำวัน

ช่วงสถานการณ์โควิด คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันจากหน้ามือเป็นหลังมือ และมีความเป็นไปได้สูงที่กิจวัตรของสัตว์เลี้ยงก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์ของ Purina ดร. แอนนี วาลุสกา ได้ให้คำแนะนำว่า “ผู้เลี้ยงจะต้องรักษาตารางกิจวัตรประจำวันของสัตว์เลี้ยงให้เหมือนเดิมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการกิน การขับถ่ายหรือการเดินออกกำลัง กิจกรรมเหล่านี้ควรเป็นไปตามเวลาเดิมที่ทำเป็นกิจวัตร”

นอกจากนี้ ดร. แอนนี วาลุสกา ยังได้เน้นให้เจ้าของหมั่นฝึกสัตว์เลี้ยงให้รักษามารยาทต่าง ๆ อยู่เสมอเช่น ให้นั่งลงก่อนที่จะเดินผ่านประตู หรือไม่สะกิดขออาหารเมื่อเจ้าของกำลังทานข้าว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นวิธีที่สำคัญในการรักษากิจวัตรของสัตว์เลี้ยงเช่นกัน

2. กำหนดเวลาพักผ่อน

สัตว์เลี้ยงอาจเคยชินที่ได้ใช้เวลาส่วนตัวเมื่อครอบครัวไม่อยู่ ดังนั้นจึงควรให้เขาได้มีเวลาพักผ่อนเป็นช่วง ๆ ตลอดวัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์ของ Purina ดร. ฟรานซัวส์ มาร์ติน ได้ย้ำว่า “ไม่ควรเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันของสัตว์เลี้ยงโดยให้เข้าสังคมมากเกินไป เพราะว่าสัตว์เลี้ยงนั้นไม่ใช่เด็ก เจ้าของจึงไม่จำเป็นต้องหากิจกรรมให้สัตว์เลี้ยงทำตลอดเวลา”

เหล่าพ่อแม่คงโล่งอกที่ได้ยินเช่นนี้ เพราะว่าเด็ก ๆ นั้นต้องมีกิจกรรมให้ทำทั้งวัน แต่สุนัขหรือแมวไม่ต้องทำแบบนี้ และที่จริงแล้วการที่ไม่ต้องทำอะไรกลับมีประโยชน์กับสัตว์เลี้ยงด้วยซ้ำ

3. กินขนมแก้เครียดบ้าง

เมื่อเราต้องยุ่งกับประชุม ต้องเรียนออนไลน์ หรือแม้แต่อยากอยู่เงียบ ๆ ลองให้แมวหรือสุนัขหลบมุมอยู่กับขนมขบเคี้ยวเงียบ ๆ บ้างก็ได้

ดร. แซเวอร์รีน ลีกูต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์ของ Purina ได้ย้ำว่า แม้สัตว์เลี้ยงอาจชอบที่ได้ขบเคี้ยวขนมแต่อย่าให้ขนมเขามากเกินพอดีได้ ต้องระวังเรื่องแคลอรี่ อาจต้องควบคุมโดยลดปริมาณอาหารมื้อหลักให้เหมาะสมกับปริมาณแคลอรี่ที่ได้จากขนมไปแล้ว

4. ออกกำลังกายคือคำตอบ

มาลองรักษาสุขภาพจิตและปล่อยพลังงานลบออกไปด้วยวิธีเชิงบวก นั่นคือ การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมให้ร่างกายได้ขยับในช่วงเวลาที่ต้องอยู่แต่ในบ้านนี้มีประโยชน์ต่อตัวเราเองและสัตว์เลี้ยง

เราอาจจะพาสุนัขไปออกกำลังกายที่สวนสาธารณะไม่ได้ แต่ก็มีวิธีออกกำลังกายอื่นได้ แม้แต่การเดินไปส่งจดหมายก็ถือเป็นการออกกำลังกายได้เหมือนกัน ถ้าต้องอยู่แต่ในบ้าน เราควรเก็บกวาดบ้านให้โล่งจะได้มีพื้นที่เล่นกับเขา

ถ้าหากมีสวนหลังบ้านก็ออกไปเล่นวิ่งไล่จับกันบ้าง Purina ขอแนะนำให้เจ้าของนำการออกกำลังกายมาประยุกต์เพื่อรักษาตารางกิจวัตรให้กับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ควรกำหนดตารางเวลาการเล่นให้อยู่ในช่วงเดียวกันทุกวัน ให้สัตว์เลี้ยงเคยชินกับตารางกิจกรรมประจำวัน ได้กระตุ้นร่างกายและจิตใจในขณะที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยงด้วย

5. เล่นเกมฝึกสมอง

วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์เลี้ยงได้ออกกำลังคือ การกระตุ้นสมองเช่น การสอนให้เล่นเกมใหม่ ๆ สักอย่างสองอย่าง! คุณคงเคยอยากให้สุนัขม้วนตัวได้หรือแม้แต่สอนให้แมวเต้นรำใช่ไหมล่ะ ช่วงนี้ล่ะที่เหมาะที่จะสอนสิ่งเหล่านี้

“สัตว์เลี้ยงก็เหมือนกับคน คือมีประสบการณ์ที่เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์ยูเรก้า’ (Eureka Effect) หรือปรากฎการณ์ร้อง “อ๋อ” เวลาแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ” ดร. เรแกน แม็คกอแวน ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์ของ Purina ได้อธิบายเพิ่มเติม “ช่วงเวลาที่เราแก้ไขปัญหาบางอย่างได้ เราจะอารมณ์ดี สัตว์เลี้ยงเองก็มีความรู้สึกนี้เช่นเดียวกัน”

เราอาจกระตุ้นสมองสัตว์เลี้ยงช่วงเวลาให้อาหาร โดยนำอาหารไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในบ้านแล้วให้เขาลองดมหา หรือนำ เกมตัวต่อจิ๊กซอร์ มาประยุกต์เพื่อกระตุ้นสมองให้ฝึกคิดมากขึ้นก็ได้

วิธีเลี้ยงแมว วิธีเลี้ยงสุนัข

6. ยึดหลักใจเขาใจเรา

คงไม่มีใครอยากอยู่ร่วมกับคนที่ชอบทำเสียงดังโวยวาย สัตว์เลี้ยงก็เหมือนกัน แม้เรากับสัตว์เลี้ยงจะอยู่ด้วยกันมานานพอสมควรแล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า สัตว์เลี้ยงนั้นหูไวกว่าเรา เพราะฉะนั้นเราอาจต้องลดระดับเสียงลง

เพื่อให้เขาได้พักหูบ้าง ถ้าหากว่า ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง อาจเปิดเพลงคลาสสิก (มีการศึกษาว่า ช่วยสัตว์เลี้ยงได้) เพื่อแทรกเสียงทีวี พอดคาสต์หรือวิทยุก็ได้

7. ให้เด็กได้มีส่วนร่วม

ถ้าหากคุณมีเด็กอยู่ในบ้าน ควรให้เขาได้มีส่วนร่วมในการสร้างความสุขและสุขภาพดีให้สัตว์เลี้ยงเมื่อต้องอยู่ในบ้าน ช่วงเวลาเช่นนี้ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การสอนกฎกติกาให้กับสัตว์เลี้ยงและทำให้ลูกหลานได้เข้าใจภาษากายของสัตว์เลี้ยงด้วย นอกจากนี้การให้สัตว์มีส่วนร่วมในการเรียนของเด็กก็จะช่วยให้เด็กๆ สนุกมากขึ้นด้วย

เนื่องจากเด็กๆ ยังได้เรียนรู้ มีตัวอย่างให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้นหลายด้าน (เช่น การอ่าน) หากสัตวไม่ดื้อ เราอาจนำสัตว์เลี้ยงมาช่วยเป็นส่วนหนึ่งของการ ”อ่านนิทานให้น้องฟัง” โดยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันเด็ก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง ประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงต่อเด็กได้ที่นี่

8. รักษานิสัยการกินที่ดี

ในช่วงนี้คุณอาจลดความเครียดด้วยการกินขนมแต่ก็ไม่ควรยอมให้สัตว์เลี้ยงของคุณละเลยวินัยในการกิน

ไม่ควรป้อนอาหารเหลือของเราให้สัตว์เลี้ยง ให้ปฏิบัติตามตารางการให้อาหารและให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารเมนูปกติของเขาให้มากที่สุด

ถ้าคุณให้ขนมสุนัขหรือแมวมากกว่าปกติเพราะเขาทำตัวดีน่ารัก (หรือถ้าปกติก็คิดจะให้ขนมอยู่แล้ว) ต้องจำไว้เสมอว่า ไม่ควรให้เขากินขนมจนแคลอรี่รวมเกินร้อยละ 10 ของแคลอรี่ทั้งหมดที่ควรได้ในแต่ละวัน

9. สร้าง “พื้นที่ปลอดภัย”

บางครั้งสัตว์เลี้ยงก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยและสบายในช่วงที่มีคนอยู่รอบตัวมาก ๆ กรณีนี้จำเป็นอย่างมากสำหรับแมวแต่สุนัขก็ได้ประโยชน์จากการมี “พื้นที่ปลอดภัย” เช่นกัน

ถ้าหากคุณคิดว่า สุนัขหรือแมวกำลังตกใจกับ ”ความใกล้ชิด” แบบไม่ได้ตั้งตัว ก็ควรให้เขาได้มีพื้นที่ส่วนตัวที่จะไม่ถูกใครรบกวน เมื่อเขาได้เข้า” ถ้ำ” นี้ (พื้นที่ส่วนตัว) พวกเขาก็จะได้ไม่ต้องระวังตัวมาก หรือบางครั้งเราอาจต้องทำเหมือนว่า เรามองไม่เห็นเวลาเขา “เข้าถ้ำ” ด้วย

ข้อมูลนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ที่รักสัตว์ได้เข้าใจว่า ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงได้อยู่ตามลำพังจนกว่าเขาจะพร้อมที่จะเล่นด้วย

10. ใช้ความคิดสร้างสรรค์

วิธีที่จะทำให้สัตว์เลี้ยงได้มีกิจกรรมทำและมีความสุขในช่วงเวลาที่เราออกไปหาซื้อของเล่นใหม่ไม่ได้เช่นนี้ เราอาจต้องลองคิดนอกกรอบแล้วลองทำของเล่นหรือของกระตุ้นสมองกันเองบ้าง

ลองหาของเล่นสนุก ๆ ที่สุนัขหรือแมวเล่นจนพังได้มาให้เขาลอง ของเล่นเหล่านี้ได้แก่ อุโมงค์กระดาษแข็งให้ลูกแมวเข้าไปซ่อนได้ หรือขวดพลาสติกเก็บขนมให้สัตว์เลี้ยงต้องกัดจนเอาขนมออกมาได้

การลดพลังงานลบด้วยวิธีที่สร้างสรรค์นี้มีประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยงและรองเท้าของคุณด้วย!