Your Pet, Our Passion.
Bengal

เบงกอล

แมวเบงกอล ผู้มาพร้อมขนเงาสลวย ร่างกายกำยำ จนบางมุมก็ดูเหมือนแมวป่า ที่ถูกเสริมลุคด้วยลวดลายคล้ายลายหินอ่อนปะปนไปกับลายจุด ลักษณะขนเป็นแผงขนหนา เงางาม ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดูน่าหลงใหล แต่ถ้าว่าด้วยเรื่องรูปร่าง แท้จริงแล้วแมวพันธุ์นี้ก็มีโครงร่างคล้ายกับแมวทั่วไป ที่มีรูปร่างปราดเปรียว ใบหูเล็ก ใบหน้าเรียว และอุ้งเท้าเรียบร้อยน่ารัก

The need-to-know
  • แมวขี้เล่นขี้สงสัย
  • เข้ากับคนง่ายและต้องการการดูแล
  • แมวพูดเก่งเล็กน้อย
  • รูปร่างผอมเพรียวและสง่างาม
  • ต้องดูแล/ตัดขนสัปดาห์ละครั้ง
  • สายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  • ต้องการพื้นที่นอกบ้านบ้าง
  • แมวที่เหมาะกับเลี้ยงในครอบครัว

ข้อมูลสำคัญ

อายุเฉลี่ย : 10-16 ปี
น้ำหนัก : 3.6-7.7 กิโลกรัม
สีขน : แมวเบงกอล มาพร้อมลวดลายคล้ายหินอ่อนและลายจุด สี brown, silver, snow

คะแนนรวม

ความเป็นมิตรกับครอบครัว : 1/5
ความขี้เล่น : 5/5
ความฉลาดแสนรู้ : 5/5
ระดับการส่งเสียง : 2/5
ความเข้ากันได้ดีกับสัตว์เลี้ยงอื่น : 5/5
ความต้องการการดูแลขน : 2/5
การผลัดขน : 2/5

ลักษณะนิสัย

แมวเบงกอลสามารถเป็นสัตว์เลี้ยงชั้นเลิศได้ เมื่อได้อยู่กับเจ้าของผู้มีประสบการณ์การเลี้ยง แต่คงจะเข้ากันได้ดียิ่งกว่า หากคุณเจ้าของเป็นคนที่ชื่นชอบน้องแมวที่มีความเป็นสุนัข คือมีความแอคทีฟและช่างสงสัย เจ้าแมวเบงกอลสามารถสนุกได้กับทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นของเล่น เกม หรืออุปกรณ์เสริมทักษะ ซึ่งถ้าคุณต้องการน้องแมวที่นอนดูของเล่นหรือของตกแต่งเฉย ๆ แมวเบงกอลก็คงไม่ใช่คำตอบสำหรับคุณแล้วแหละ ! เพราะแมวพันธุ์นี้สนุกไปกับทุกอย่าง แม้แต่สิ่งที่ดูเรียบง่ายที่สุด อย่างการเปิดน้ำให้ไหลไปเรื่อย ๆ ก็สร้างความบันเทิงให้กับแมวเบงกอลได้แล้ว (ระวังไว้ล่ะ เจ้าแมวพวกนี้อาจจะแอบจ้องแก้วน้ำของคุณอยู่ !)

นอกจากนี้แมวเบงกอลยังชอบเล่นกับคน เรียกได้ว่าเล่นด้วยกันได้เป็นชั่วโมง ๆ เลย ถ้าคุณต้องการ (หรือถ้าไม่ ก็ยังเล่นอยู่ดีแหละนะ) และขอบอกไว้เลยว่าแมวแบงกอลไม่ใช่แมวนอนตัก เพราะเป็นแมวที่ไม่ค่อยว่าง ต้องการจะเล่น จะให้มานอนเฉย ๆ บนตักนาน ๆ ก็คงจะไม่ได้ และโดยทั่วไปแมวเบงกอลก็ไม่ใช่แมวที่เสียงดังหรอก แต่ถ้าคุณเจ้าของไม่สนใจหรือน้องแมวไปเจออะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็อาจจะวีนเสียงดังขึ้นมาได้เหมือนกัน

ประวัติความเป็นมา

แมวเบงกอลค่อนข้างเป็นแมวยุคใหม่ ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาในช่วงปี 1990s ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเกิดจากการผสมระหว่างแมวดาวสายพันธุ์เอเชีย (Asian Leopard Cat, Prionailurus bengalensis; แมวป่าขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นลายพาด มาจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) กับแมวบ้านลายแท็บบี้ และแมวขนสั้นพันธุ์อื่น เช่น อะบิสซิเนียน, เบอร์มีส และอียิปต์เทียน โม โดยวัตถุประสงค์ตั้งต้นของการพัฒนาสายพันธุ์นี้คือ การสร้างแมวเลี้ยงนิสัยน่ารักที่มีหน้าตาคล้ายเสือดาวขนาดเล็ก เพื่อเป็นทางเลือกไม่ให้คนเอาแมวป่ามาเลี้ยง

นอกจากนี้คือเรื่องมุมมองการเลี้ยงของเจ้าของ ถ้าเป็นเจ้าของมีมุมมองการเลี้ยงที่ดีควรบันทึก “F number” ซึ่งเป็นเลขที่บอกรุ่นของแมวแต่ละตัวเอาไว้ โดยลูกรุ่นแรกที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์จะได้เลข F1 (หมายถึงลูกของแมวป่าผสมกับแมวบ้าน) ซึ่งในอังกฤษ ถือว่ายังเป็นรุ่นที่ต้องขอใบอนุญาตเลี้ยงสัตว์ป่าอันตราย แต่ถ้าเป็นรุ่น F2 เป็นต้นไปก็สามารถเลี้ยงได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตแล้ว

โดยทั่วไปแล้ว แมวเบงกอลก็เป็นแมวที่มีสุขภาพแข็งแรง เพียงแต่อาจมีความเสี่ยงต่อบางโรค เช่น

  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว (Hypertrophic cardiomyopathy) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจผิดปกติไปด้วย
  • ภาวะจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy) เป็นความผิดปกติที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และในที่สุดอาจส่งผลให้ตาบอดได้
  • โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ (Feline infectious peritonitis) มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติต่อการติดเชื้อไวรัส
  • กลุ่มอาการอกแบนในลูกแมว (Flat chested kitten syndrome) เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตที่โครงสร้างอก ส่งผลให้เกิดอาการหายใจลำบาก
  • ภาวะสะบ้าเคลื่อน (Patella luxation) เป็นสภาวะที่ลูกสะบ้าเข่าเคลื่อนออกจากตำแหน่งที่ควรจะเป็น
  • ภาวะข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) เป็นความผิดปกติของข้อสะโพกที่มีการเจริญผิดปกติ
  • Pyruvate kinase deficiency ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง จากการตายของเม็ดเลือดแดง
  • ภาวะปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาท

แมวเบงกอลรักในการใช้ชีวิตนอกบ้าน และด้วยความเป็นเจ้าถิ่น หวงพื้นที่ โดยเฉพาะกับสัตว์ที่เจ้าแมวเบงกอลไม่คุ้นเคย บวกกับความเร็ว ความเป็นนักกีฬา และความขี้เล่นซุกซน จึงไม่ปลอดภัยเลยที่จะปล่อยแมวเบงกอลเป็นอิสระในพื้นที่กว้าง หรือพื้นที่ละแวกบ้านที่มีเพื่อนบ้านอาศัยใกล้ชิด เพราะฉะนั้นจึงควรมีพื้นที่สวนที่ปลอดภัยสำหรับน้องแมว หรือพื้นที่เล่นขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์เสริมทักษะและพื้นที่หลายระดับความสูง ให้น้องแมวเพลิดเพลินไปกับการเล่น หรือไม่ก็คุณอาจจะต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีเพื่อนบ้านใกล้ชิด หรือถนนที่วุ่นวาย

ด้วยความที่เป็นแมวแอคทีฟและฉลาดแสนรู้ ทำให้เจ้าแมวเบงกอลมีอะไรให้ทำเต็มไปหมด หรือแมวเบงกอลอาจจะหากิจกรรมบันเทิงใจ (ซึ่งอาจจะบันเทิงใจแมว ไม่บันเทิงใจเรา) โดยเฉพาะเวลาที่เบื่อ กิจกรรมที่เจ้าแมวเบงกอลเล่นอาจจะเป็นกิจกรรมล่าเหยื่อก็ได้ ซึ่งคนและสัตว์อื่นก็อาจจะต้องมาเล่นด้วยแบบไม่เต็มใจนัก

ทั้งนี้อาจใช้ต้นไม้แมวหรือคอนโดแมวเพื่อให้น้องแมวได้เสริมทักษะปีนป่าย หรือให้เข้าถึงหน้าต่างได้ จะได้สามารถจับตาดูความเป็นไปรอบบ้าน หรืออาจใช้ของเล่นให้อาหารหรือของเล่นลับสมอง รวมถึงตัวคุณด้วยเช่นกันที่พร้อมจะเล่นกับแมวเบงกอลเป็นชั่วโมง ๆ นอกจากนี้จริง ๆ แล้วแมวเบงกอลก็เป็นแมวเจ้าสังคมได้ หากได้รับการแนะนำให้รู้จักกับแมวตัวอื่นหรือสัตว์เลี้ยงอื่น แต่ก็ระวังไว้ให้ดี เพราะเจ้าแมวเบงกอลเป็นแมวไม่ชอบแพ้ซะด้วยสิ ถ้าเจอแมวอื่นที่เล่นใหญ่กว่า เจ้าเบงกอลก็คงยอมไม่ได้เด็ดขาด !

แมวทุกตัวล้วนมีรสนิยมเฉพาะตัว ในเรื่องการกินก็มีสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ไม่ชอบ และสิ่งที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตามแมวเป็นสัตว์กินเนื้อ และแมวทุกตัวจำเป็นต้องได้รับสารอาหารทั้งหมด 41 ชนิด ซึ่งจะได้รับทางการกินอาหารเท่านั้น โดยสัดส่วนความต้องสารอาหารนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละตัว ขึ้นกับอายุ ไลฟ์สไตล์ และสภาวะสุขภาพโดยรวม

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ลูกแมววัยกำลังซนจะมีความต้องการสารอาหารแตกต่างจากแมวสูงวัยที่ไม่ค่อยวิ่งเล่นแล้ว และอีกสิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้เสมอคือการให้อาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อคงหุ่นของแมวให้มีหุ่นที่ดีเสมอ โดยปริมาณการให้อาหารสามารถพิจารณาตามวิธีการให้อาหารของแต่ละผลิตภัณฑ์ และสามารถปรับปริมาณการให้ได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาหารเปียกหรืออาหารแห้งก็ตาม

การดูแลขนให้สะอาดในแมวเบงกอลเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก เจ้าแมวเบงกอลต้องการการแปรงขนเพียงแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งก็เป็นโอกาสที่เจ้าของจะได้ดูว่าน้องมีแผล มีปรสิตภายนอก หรือดูลักษณะขนว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ รวมถึงการทำเป็นประจำยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณเจ้าของและน้องแมว อีกทั้งยังทำให้มั่นใจได้ว่าน้องแมวยังคงมีสุขภาพที่ดี

โดยลักษณะขนที่ดูเป็นขนมันเยิ้ม มีรังแค บ่งบอกได้ว่าสุขภาพน้องแมวอาจมีบางอย่างผิดปกติไป ทำให้น้องแมวไม่เลียขนแต่งขนตัวเอง นอกจากนี้ก็เช่นเดียวกันกับแมวทั่วไปคือ ควรทำวัคซีนให้ครบ ควบคุมปรสิตอย่างต่อเนื่อง และหมั่นพาน้องไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ถ้าคุณเป็นคนมีอารมณ์ขัน มีพื้นที่บ้านกว้าง และมีสมาชิกในครอบครัวที่ค่อนข้างโตพอจะเข้าใจน้องแมวและเคารพในพื้นที่ส่วนตัวของน้องแมวได้ เจ้าแมวเบงกอลก็สามารถเป็นเพื่อนคู่หูคู่ใจได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณต้องการแมวที่นอนเฉย ๆ เอาแต่จ้องมอง หรือแมวเงียบ ๆ ที่ไม่ต้องการอะไรจากคุณเลย แมวเบงกอลก็คงไม่ใช่คำตอบสำหรับคุณแล้วแหละ !

มือใหม่หัดเลี้ยงแมว

เรื่องต้องรู้การพาน้องแมวไปฉีดวัคซีน
เคล็ดลับการเลี้ยงแมว
เรื่องต้องรู้การพาน้องแมวไปฉีดวัคซีน
นอกจากการดูแลเอาใจใส่น้องแมวในเรื่องการดูแลสุขภาพ เลือกอาหารที่ดี เพื่อช่วยเสริม 6 สัญญาณสุขภาพดีให้กับน้องแมวแล้ว การสร้างเกราะป้องกันให้กับสุขภาพของน้องแมวด้วยการทำวัคซีนก็เป็นสิ่งสำคัญ
ไขข้อข้องใจ ทำไมน้องแมวถึงมีนิสัยแบบนั้น ?
เคล็ดลับการเลี้ยงแมว
ไขข้อข้องใจ ทำไมน้องแมวถึงมีนิสัยแบบนั้น ?
ตั้งแต่เลี้ยงแมวมา เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมน้องเหมียวชอบมีนิสัยที่คาดเดาไม่ค่อยได้? ไม่ว่าจะชอบตะปบสิ่งที่เคลื่อนไหว ชอบมานอนบนรองเท้าของคุณ ชอบขโมยของ หรือแม้แต่ชอบมากวนตอนคุณเล่นคอมพิวเตอร์! มีเบื้องลึกเบื้องหลังอะไร
มือใหม่เตรียมพร้อม รับเลี้ยงลูกแมวตัวแรก
เคล็ดลับการเลี้ยงแมว
มือใหม่เตรียมพร้อม รับเลี้ยงลูกแมวตัวแรก
สำหรับใครที่กำลังจะเริ่มต้นเลี้ยงแมวตัวแรก หรือมีลูกแมวตัวใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัวแล้วล่ะก็ การเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับดูแลเค้า ก็จะช่วยให้คุณแม่มือใหม่ดูแลน้องแมวตัวน้อยให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้เร็วขึ้น
ดูแลลูกแมวแรกเกิดอย่างไรให้มีสุขภาพดี
เคล็ดลับการเลี้ยงแมว
ดูแลลูกแมวแรกเกิดอย่างไรให้มีสุขภาพดี
เมื่อถึงคราวที่เราต้องกลายเป็นแม่แมวมือใหม่ สิ่งที่หลาย ๆ คนมักจะคิดขึ้นมาเป็นสิ่งแรกก็คงไม่หนีไปจากการเลี้ยงเด็กเล็ก ๆ คนหนึ่ง เพราะการดูแลลูกแมวตัวน้อยให้มีสุขภาพดี ได้รับการดูแล และฝึกฝนสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ดูแลแมวขนสั้นvsแมวขนยาวพันธุ์แท้ แตกต่างกันยังไงนะ
ดูแลแมวขนสั้นvsแมวขนยาวพันธุ์แท้ แตกต่างกันยังไงนะ
ถ้าพูดถึงแมวขนสั้นยอดนิยม เพื่อนๆ ก็น่าจะคิดถึงน้องแมวพันธุ์แท้อย่างอเมริกันช็อตแฮร์ สก๊อตติสโฟลด์ หรือแม้แต่แมวไทยพันธุ์ผสมส่วนน้องแมวขนสวยยาวที่ดูนุ่มฟูใครๆ เห็นก็รักนั้นคงไม่พ้นน้องแมวเปอร์เซีย หรือพันธุ์เมนคูณนั่นเอง
ทำไมถึงควรเลี้ยงแมวในระบบปิด
พฤติกรรมแมว
ทำไมถึงควรเลี้ยงแมวในระบบปิด
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้วิธีการเลี้ยงแมวในปัจจุบัน ก็ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน จากเดิมที่มีการเลี้ยงให้แมวได้เที่ยวเล่นทั่วไปแบบมีอิสระ ไปไหนก็ได้แบบที่ต้องการ หรือที่เรียกกันว่าเลี้ยงแบบปล่อย ในยุคนี้เจ้าของแมวหลาย ๆ คน เลือกที่จะเลี้ยงแมวด้วยระบบปิด
แอบส่องความลับของน้องแมวที่คุณยังไม่เคยรู้
พฤติกรรมแมว
แอบส่องความลับของน้องแมวที่คุณยังไม่เคยรู้
หากพูดถึงน้องแมวแล้วเชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงความน่ารักไม่เหมือนใครจนทำเอาใครต่อใครหลายคนตกหลุมรักจนกลายเป็นทาสแมวกันโดย ไม่รู้ตัว แต่นอกจากความน่ารักแล้ว น้องแมวก็ยังมีความลับอันน่ามหัศจรรย์ต่างๆ มากมายอยู่ในอวัยวะต่างๆ