Sorry, you need to enable JavaScript to visit this website.
Your Pet, Our Passion.
ปัญหาผิวหนังและขน

อาหารมีความสำคัญอย่างไรในสุนัขที่มีปัญหาผิวหนังและขน

3 นาที

หากคุณสังเกตเห็นสุนัขของคุณมีอาการคัน โดยเกา กัดแทะ หรือเลียตามตัวอย่างต่อเนื่องมากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณว่าสุนัขของคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพผิว โดยสาเหตุนั้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

• แพ้น้ำลายหมัด ที่เกิดจากการโดนหมัดกัดที่ผิวหนัง
• มีปรสิตภายนอก เช่น ไรขี้เรื้อนขุมขน หรือเห็บ
• ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา หรือ ยีสต์
• ได้รับสารก่อภูมิแพ้ภายนอก เช่น ละอองเกสร ละอองพืช ไรฝุ่น ฯลฯ
• เกิดจากการแพ้โปรตีนจากสัตว์ หรือ พืช บางชนิด
• สายพันธุ์ เช่น เฟรนช์ บูลด็อก หรือ ไซบีเรียน ฮัสกี้ และบางสายพันธุ์อาจมีแนวโน้มจะมีปัญหาแพ้ง่ายกว่าพันธุ์อื่นๆ

เมื่อพบเห็นอาการคันของสุนัข จากอาการเกาและกัดแทะตามตัวมากกว่าปกติ สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ การพาสุนัขไปปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงของการระคายเคืองผิวหนังให้พบ ทั้งนี้สัตวแพทย์ของคุณอาจจะแนะนำแนวทางการรักษาในหลากหลายรูปแบบ เช่น

• การให้ยา เพื่อแก้ปัญหาการติดเชื้อที่ผิวหนังและลดอาการคัน
• การเปลี่ยนมาใช้แชมพูสุนัขสูตรเฉพาะผิวแพ้ง่าย หรือ ใช้แชมพูยา
• การลองเปลี่ยนอาหารมาเป็นสูตรสำหรับสุนัขที่มีภาวะผิวแพ้ง่าย และ/หรือ ใช้อาหารจากแหล่งโปรตีนทางเลือก ( เช่น ปลา หรือ แกะ )

ปัญหาผิวหนังและขน

ทั้งนี้การเปลี่ยนสูตรอาหาร อาจเป็นส่วนช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองผิวหนังได้ อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและให้คำแนะนำที่เหมาะสมในการเลือกสูตรอาหารให้กับสุนัขที่คุณรัก

โภชนาการที่ดีส่งผลต่อสุขภาพผิวหนังและขนสุนัขได้อย่างไร?

สุขภาพผิวหนังและขน เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้สำคัญของสุขภาพโดยรวมของสุนัข โดยสุนัขที่มีสุขภาพดีมักจะมีผิวหนังที่แข็งแรง ขนสวยเป็นเงางามไม่หยาบกระด้าง และไม่หลุดร่วงผิดปกติ โดยโภชนาการที่ดีนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยดูแลสุขภาพผิวหนังและขน แหล่งสารอาหารสำคัญที่สามารถช่วยดูแลผิวหนังให้แข็งแรงสุขภาพดี และมีขนที่เงางามมากขึ้น สำหรับสุนัขที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาผิวแพ้ง่าย ได้แก่

• กรดไขมันโอเมก้า 3 และ กรดไขมันโอเมก้า 6

- โดยกรดไขมันโอเมก้า 3 (กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก หรือกรดไขมันอีพีเอ) มักพบได้ในสัตว์ทะเลรวมทั้งในเมล็ดพืชบางชนิดด้วย

- ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 6 (กรดไลโนเลอิก) พบได้มากในน้ำมันพืช เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน รำข้าว จมูกข้าว ฯลฯ

• แหล่งโปรตีนทางเลือกคุณภาพดี เช่น แซลมอน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่ได้จากปลา เช่น น้ำมันปลา หรือเนื้อปลา เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีของกรดไขมันโอเมก้า 3

อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้สุนัขนั้นไม่ควรทำในทันที คุณควรปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณอย่างละเอียดเสียก่อนเพื่อปรับเปลี่ยนให้ถูกวิธี

ปัญหาผิวหนังและขน

มาดูสูตรอาหารที่เหมาะกับสุนัขที่มีภาวะผิวแพ้ง่ายได้ที่นี่